น้ำ
ปัจจุบัน “น้ำ” เป็นสารดับเพลิงที่มีประสิทธิภาพและหาง่ายที่สุดในสถานการณ์ฉุกเฉิน เพื่อใช้ดับเพลิงไหม้รถยนต์ไฟฟ้าที่มีสาเหตุมาจากแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า โดยจำเป็นต้องใช้น้ำปริมาณมากและเวลาที่ค่อนข้างนาน ฉีดน้ำไปที่แบตเตอรี่ในการช่วยลดอุณหภูมิ (Cooling) อย่างต่อเนื่องจนกว่าเพลิงจะสงบลง โดยการลดอุณภูมิชั้นความร้อนให้ต่ำลง และควบคุมก๊าซที่ลุกไหม้และทำให้เปลวไฟหมดไป ซึ่งจะต้องฉีดน้ำไปถึงที่แบตเตอรี่ให้ได้ ทั้งนี้ผู้เชี่ยวชาญอาจจะใช้กล้องจับความร้อน (Thermal Imagine Camera) ดูว่าอุณหภูมิลดลงไปถึงจุดที่ปลอดภัย
น้ำ สามารถปิดกั้นอากาศด้วยไอน้ำ น้ำสามารถดูดกลืนความร้อน และน้ำสามารถทำให้ก๊าซเชื้อเพลิงน้อยลงหรือหนุดการคายไอนำเอาไอเชื้อเพลิงออกไปจากคุณสมบัติของน้ำทำให้องค์ประกอบของไฟไม่ครบหรือไม่สมบูรณ์ เราจึงสามารถประยุกต์ใช้น้ำดับไฟโดยเปลี่ยนสภาพน้ำให้กลายเป็นไอและขยายตัว ลดอุณภูมิชั้นความร้อนให้ต่ำลง และควบคุมก๊าซที่ลุกไหม้และทำให้เปลวไฟหมดไปได้
ถังดับเพลิงชนิด โฟม
การฉีดโฟม เพื่อปกคลุมเชื้อเพลิงที่ลุกไหม้ให้ขาดออกซิเจนจะสามารถ ช่วยควบคุม ความร้อน และ เพลิงไหม้จากแบตเตอรี่ได้เพียงชั่วคราวเท่านั้น โดยจำเป็นต้องใช้น้ำ ดับเพลิงร่วมด้วย เพื่อไม่ให้้เกิดไฟลุกลามขึ้นซ้ำอีก
ถังดับเพลิงชนิดโฟมสามารถใช้ดับเพลิงไหม้ประเภท A และ B จึงเหมาะสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับเชื้อเพลิง และสารระเหยติดไฟ และปั๊มน้ำมัน ข้อควรระวังของถังดับเพลิงชนิดโฟม คือ ไม่สามารถใช้กับเพลิงไหม้ประเภท C ได้ เพราะถังดับเพลิงชนิดโฟมสามารถนำไฟฟ้าได้
ถังดับเพลิงชนิด ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
สามารถช่วยดับเพลิงไหม้ในส่วนอื่น ๆ ของรถยนต์ไฟฟ้าได้ ซึ่งเหมาะกับการดับเพลิง จากส่วนของอุปกรณ์ภายใน หรือ ประกายไฟภายนอกรถยนต์ไฟฟ้ามากกว่า ด้วยสารที่มีลักษณะเป็นไอเย็นจัด ซึ่งจะช่วยลดความร้อนของเพลิงไหม้ เพื่อป้องกันการลุกลามไปสู่แบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าได้ในเบื้องต้น และต้องใช้น้ำตามในการดับไฟเท่านั้นถึงจะทำให้ไฟดับสนิทได้
การเกิดเพลิงไหม้จากแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า กรณีที่เกิดจากแบตเตอรี่จะใช้สารเคมี หรือ CO2 เพื่อควบคุมเพลิงได้ในเบื้องต้น
และ "ต้องใช้น้ำตามในการดับไฟเท่านั้น" ถึงจะทำให้ไฟดับสนิทได้ ซึ่งจะใช้เวลาในการดับสนิท 100% ค่อนข้างนาน
ทั้งนี้ ในอนาคต อาจมีผลิตภัณฑ์ จากงานวิจัยหรือผลงานวิจัยที่ได้รับการรับรอง ผ่านการทดลองและการทดสอบที่ได้มาตรฐานสำหรับดับเพลิงไหม้ที่เกิดจากแบตเตอรี่ยานยนต์ไฟฟ้าโดยเฉพาะมาเป็นทางเลือกเพิ่มเติมที่หน่วยงาน ผู้ขับขี่ หรือประชาชนทั่วไป จะสามารถเข้าถึงได้และแพร่หลายต่อไป
หมายเหตุ - เพื่อความปลอดภัยผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร หรือ ผู้เห็นเหตุการณ์ หากไม่มีอุปกรณ์ดับเพลิงใด ๆ ควรถอยออกจากรถยนต์ให้เร็วที่สุด เพื่อป้องกันการระเบิดของแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าก่อนเป็นอันดับแรก และ ควรโทรศัพท์เรียกสายด่วน 199 ขอความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่ดับเพลิง และหาอุปกรณ์ดับเพลิงเบื้องต้นระหว่างรอเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญมาถึงที่เกิดเหตุ
จัดทำโดย : สถาบันยานยนต์
เผยแพร่: วันที่ 23 กรกฎาคม 2567
ที่มา:
1. ผู้อำนวยการฝ่ายทดสอบ และวิศวกรรม สถาบันยานยนต์ (30 เมษายน 2567)
2. รายการชัวร์ก่อนแชร์ Motor Check : 3 วิธีดับไฟไหม้แบตฯ รถยนต์ไฟฟ้า จริงหรือ? (30 เมษายน 2567)
https://www.youtube.com/watch?v=FJrMftkb72k&t=15s
3. สำนักข่าวออนไลน์ โพสต์ทูเดย์ : ทางออกใหม่ในการรับมือไฟไหม้รถยนต์ไฟฟ้า (6 มีนาคม 2567)
https://www.posttoday.com/smart-life/706339
4. สถานีดับเพลิงสามเสน : การใช้น้ำดับเพลิง (17 สิงหาคม 2565)
https://www.samsenfire.com/blog/water-extinguishing/
5. Suvarnabhumi Airport Rescue and Firefighting Service - ARFF AOT VTBS : การดับเพลิงรถยนต์ไฟฟ้าที่เกิดเพลิงไหม้ (13 มิถุนายน 2565)
https://www.facebook.com/permalink.php/?story_fbid=1622721304767152&id=597355127303780
6. นักดับเพลิง เปิดเผย สิ่งที่สามารถดับเพลิงรถยนต์ไฟฟ้าได้ดีที่สุด (22 พฤษภาคม 2562)
https://www.autospinn.com/2019/05/ev-%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%95-%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%9F-%E0%B8%B2-56511