การจดทะเบียนรถยนต์ดัดแปลง ICE เป็น EV ต้องทำอย่างไร

จากแนวทางการปฏิบัติการตรวจสภาพรถกรณีการเปลี่ยนเปลงเครื่องยนต์เป็นมอเตอร์ไฟฟ้า ตามประกาศกรมการขนส่งทางบก

1. เจ้าของรถจะต้องติดต่อ กรมการขนส่งทางบก เพื่อการตรวจสภาพรถ กรณีเปลี่ยนเครื่องยนต์เป็นมอเตอร์ไฟฟ้า ยื่นคำขอแก้ไขเพิ่มเติมรายการในทะเบียนรถ พร้อมด้วยหลักฐานประกอบคำขอ ดังนี้

1.1. ใบคู่มือทะเบียนรถ (ถ้ามี)

1.2. หลักฐานการได้มาของมอเตอร์ไฟฟ้า เช่น ใบเสร็จ หรือสัญญาซื้อขาย

1.3. หนังสือรับรองความมั่นคงแข็งแรงและความปลอดภัยในการใช้งาน โดยวิศวกรซึ่งได้รับอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมสาขาวิศวกรรมเครื่องกล (เครื่องกล)

1.4. หนังสือรับรองความปลอดภัยของระบบไฟฟ้าที่ใช้ขับเคลื่อนรถ โดยวิศวกรซึ่งได้รับอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมสาขาวิศวกรรมไฟฟ้า

. แบบแปลนแสดงการติดตั้งอุปกรณ์และวงจรสำหรับการติดตั้งระบบไฟฟ้าในการขับเคลื่อนรถ

ข. รายละเอียดทางเทคนิคที่แสดงข้อมูล กำลังพิกัดมอเตอร์ไฟฟ้า (Rate power) หรือ กำลังต่อเนื่องสูงสุด 30 นาที (Maximum 30 Minutes Power) ขนาดของแรงเคลื่อน และความจุของแบตเตอรี่ น้ำหนักรถไม่รวมแบตเตอรี่ น้ำหนักแบตเตอรี่ น้ำหนักรถรวมแบตเตอรี่ และน้ำหนักรถรวมน้ำหนักบรรทุก ความเร็วสูงสุด ระยะทางที่วิ่งได้โดยแสดงการคำนวนความสัมพันธ์กันระหว่างขนาดมอเตอร์ไฟฟ้า และความจุแบตเตอรี่แปรผันมาเป็นความเร็วและระยะทางที่ทำได้

1.5. ผลการทดสอบความสามารถขับเคลื่อนรถในขณะที่มีน้ำหนักรถรวมน้ำหนักบรรทุก (Gross Vehicle Weight) ตามที่ผู้ผลิตกำหนดด้วยความเร็วสูงสุดที่ประกาศกำหนดได้ต่อเนื่องเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 30 นาที ที่ออกโดยหน่วยงานทดสอบที่ได้รับการยอมรับจากกรมการขนส่งทางบก เช่น สถาบันยานยนต์ 

2. กำลังมอเตอร์ไฟฟ้าของรถยนต์แต่ละประเภท ต้องเป็นไปตามประกาศ กรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนด กำลังมอเตอร์ไฟฟ้าที่ใช้ขับเคลื่อนรถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ พ.ศ. 2563

2.1. รถยนต์รับจ้างระหว่างจังหวัด รถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกินเจ็ดคน รถยนต์บริการธุรกิจ รถยนต์บริการทัศนาจร รถยนต์บริการให้เช่า รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกินเจ็ดคน รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกินเจ็ดคน รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล และรถยนต์สี่ล้อเล็กรับจ้าง 

ที่มีมอเตอร์ไฟฟ้าต้องมีกำลังของมอเตอร์ไฟฟ้าไม่น้อยกว่า 15 กิโลวัตต์ และสามารถขับเคลื่อนรถให้มีความเร็วสูงสุดได้ไม่น้อยกว่า 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง 

ต้องติดเครื่องหมาย “e” บริเวณด้านท้ายของตัวรถ

2.2. รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกินเจ็ดคน รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกินเจ็ดคน รถยนต์บรรทุก ส่วนบุคคล และรถยนต์สี่ล้อเล็กรับจ้างที่ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า 

ที่มีมอเตอร์ไฟฟ้า ต้องมีกำลังของมอเตอร์ไฟฟ้าไม่น้อยกว่า 4 กิโลวัตต์ และสามารถขับเคลื่อนรถให้มีความเร็วสูงสุดได้ไม่น้อยกว่า 45 กิโลเมตรต่อชั่วโมง 

ต้องติดเครื่องหมาย “s” บริเวณด้านท้ายของตัวรถ โดยไม่คำนึงถึงน้ำหนักและขนาดของรถ

 

หมายเหตุ - โดยสามารถติดต่อขอรับบริการทดสอบ/คำปรึกษา ได้ที่ สถาบันยานยนต์ หรือ หน่วยงานทดสอบที่ได้รับการยอมรับจากกรมการขนส่งทางบก

 

ที่มา :  
1. กรมการขนส่งทางบก แนวทางการปฏิบัติการตรวจสภาพรถกรณีการเปลี่ยนเปลงเครื่องยนต์เป็นมอเตอร์ไฟฟ้า
https://www.dlt-inspection.info/dlt/cl/pdfuploads/2022_06_16_10_54_06.pdf

2. ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดกำลังของมอเตอร์ไฟฟ้าที่ใช้ขับเคลื่อนรถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ พ.ศ. 2563
https://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2564/E/025/T_0016.PDF

3. ระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยหลักเกณฑ์การขออนุญาตและการอนุญาตให้ใช้รถที่ทาการแก้ไขเพิ่มเติมหรือดัดแปลง ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2566
https://legal.dlt.go.th/A2.mobile?action=download&file=1018_LEGAL_DLT_COHC_04.PDF