นวัตกรรมยานยนต์ เพื่อความปลอดภัย เข็มขัดนิรภัยสำหรับยานยนต์

เข็มขัดนิรภัยสำหรับรถยนต์  ตามมาตรฐาน มอก. 721-2551 (UN R16) 

“เข็มขัดนิรภัย” หมายความว่า อุปกรณ์ที่ประกอบด้วยสายคาดที่มีหัวเข็มขัด อุปกรณ์ปรับความยาว และอุปกรณ์ยึดติดภายในตัวรถ ซึ่งออกแบบมาเพื่อลดการบาดเจ็บของผู้ใช้เมื่อเกิดการชนหรือลดความเร็วรถ อย่างกะทันหันโดยจํากัดการเคลื่อนที่ของลําตัวผู้ใช้

ซึ่งเป็นมาตรฐานอุปกรณ์สำหรับป้องกันบุคคลจากการเบรกกระทันหันของรถยนต์ เพื่อความปลอดภัยของผู้ขับขี่และผู้โดยสาร ซึ่งผลิตภัณฑ์ต้องได้รับใบอนุญาต และ เครื่องหมาย “มาตรฐานบังคับ” ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เลขที่ มอก. 721-2551 

โดยมี ประเภทและแบบ คุณลักษณะที่ต้องการ เครื่องหมายและฉลากการชักตัวอย่างและเกณฑ์ตัดสิน และการทดสอบเข็มขัดนิรภัยสำหรับรถยนต์ ซึ่งจะครอบคลุมเข็มขัดนิรภัยสำหรับติดตั้งในรถยนต์ที่มีล้อตั้งแต่ 3 ล้อขึ้นไป เพื่อใช้งานเฉพาะบุคคล (ผู้ขับขี่หรือผู้โดยสาร) ที่เป็นผู้ใหญ่ บนที่นั่งที่หันไปด้านหน้า  หรือหันไปด้านหลัง 

เข็มขัดนิรภัย แบ่งเป็น 5 แบบ
(1) แบบคาดหน้าตัก (Lap belt) เป็นเข็มขัดนิรภัยชนิด 2 จุดที่ต้องคาดผ่านกระดูกเชิงกรานด้านหน้าของผู้ใช้
(2) แบบคาดเฉียง (Diagonal belt) เป็นเข็มขัดนิรภัยที่ต้องคาดเฉียงจากสะโพกผ่านลําตัวด้านหน้าไปที่ไหล่ด้านตรงข้ามของผู้ใช้
(3) แบบสามจุด (Three-point belt) เป็นเข็มขัดนิรภัยที่รวมสายคาดผ่านกระดูกเชิงกรานด้านหน้าและสายคาดเฉียงลําตัวด้านหน้าไว้ด้วยกัน
(4) แบบพิเศษ (S-type belt) เป็นการวางเข็มขัดนิรภัยที่นอกเหนือจากแบบคาดหน้าตักหรือแบบสามจุด
(5) แบบยึดโยง (Harness belt) เป็นเข็มขัดนิรภัยแบบพิเศษ ที่รวมเข็มขัดนิรภัยแบบคาดหน้าตักและสายคาดไหล่ไว้ด้วยกัน เข็มขัดนิรภัยแบบยึดโยงอาจประกอบด้วยชุดสายคาดแบบ ครอช (crotch strap) 

"เข็มขัดนิรภัยที่นิยมใช้และสามารถพบเห็นได้ในปัจจุบัน"

แบบ 2 จุด

พบในรถยนต์นั่งเบาะหลัง
แต่ไม่มีตัวผ่อนแรง

แบบ 3 จุด

พบในรถยนต์นั่งรุ่นใหม่ ทั้งเบาะหน้าและเบาะหลัง นิยมใช้เพราะมีตัวผ่อนแรง

แบบ 4 จุด

พบในรถแข่ง
และมีตัวผ่อนแรง

 

ส่วนประกอบสำคัญของเข็มขัดนิรภัย

1. สายคาด (Strap)
สายรัดเป็นส่วนหนึ่งของระบบเข็มขัดนิรภัยที่ดึงรอบตัวบุคคลและรัดให้แน่นเพื่อรองรับบุคคลเมื่อเกิดแรงกระแทก

2. อุปกรณ์ดึงกลับ (Retractor)
อุปกรณ์ที่ใช้เก็บสายคาดเข็มขัดนิรภัยบางส่วนหรือทั้งหมด เป็นกลไกการม้วนที่ทำให้สามารถดึงและล็อกสายเข็มขัดให้เข้าที่เมื่อเกิดการชน เพื่อยับยั้งและช่วยปกป้องผู้โดยสาร ตัวดึงกลับมีเซ็นเซอร์สองตัว เซ็นเซอร์ตัวหนึ่งล็อกสายเข็มขัดเมื่อดึงออกจากตัวดึงกลับด้วยอัตราที่เร็วกว่าปกติ เซ็นเซอร์อีกตัวล็อกสายเข็มขัดเมื่อรถเบรกหรือเร่งความเร็วอย่างรวดเร็ว

3. หัวเข็มขัด (Buckle)
หัวเข็มขัดเป็นชิ้นส่วนของระบบเข็มขัดนิรภัยที่ทำหน้าที่ยึดและปลดลิ้นเข็มขัดที่ติดอยู่กับสายรัด หัวเข็มขัดได้รับการออกแบบให้ยึดลิ้นเข็มขัดให้แน่นหนาและช่วยให้รัดและคลายเข็มขัดนิรภัยได้โดยใช้แรงเพียงเล็กน้อย นอกจากนี้ยังได้รับการออกแบบเพื่อให้บุคคลอื่นสามารถถอดลิ้นเข็มขัดออกจากหัวเข็มขัดได้อย่างง่ายดายและช่วยผู้โดยสารให้เป็นอิสระหลังจากเกิดอุบัติเหตุ

4. จุดยึดสายบน (Anchor Ring)
ห่วงเสาใช้ในระบบเข็มขัดนิรภัยแบบ 3 จุด เป็นชิ้นส่วนเหนือไหล่ของผู้โดยสาร และใช้เพื่อนำสายรัดข้ามไหล่และข้ามหน้าอกของผู้โดยสาร

5. จุดยึดสายล่าง (Anchor Plate)
ห่วงใช้สำหรับยึดกับที่นั่ง 

 

เข็มขัดนิรภัยเป็นผลิตภัณฑ์ต้องได้รับใบอนุญาต และ เครื่องหมาย “มาตรฐานบังคับ” 
ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เลขที่ มอก. 721-2551
ซึ่งต้องมีข้อความในฉลากที่เข็มขัดนิรภัยทุกชุด

ตัวอย่าง ฉลากเข็มขัดนิรภัยสำหรับรถยนต์

1) คำว่า “เข็มขัดนิรภัยสำหรับรถยนต์”
2) แบบของเข็มขัดนิรภัย *
3) แบบ/รุ่นที่ทำของเข็มขัดนิรภัย **
4) รหัสรุ่นของรถยนต์ที่ใช้ หรือสัญลักษณ์ที่สามารถสอบกลับไปยังรุ่นของรถยนต์ที่ใช้ **
5) ชื่อผู้ทำหรือโรงงานที่ทำ หรือเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียน
6) ชื่อประเทศที่ทำ
     * ใช้สัญลักษณ์แทนได้
** อาจใช้รหัสหรือสัญลักษณ์ที่รวมอยู่ในชุดเดียวกันได้


รายการการทดสอบมาตรฐาน

เข็มขัดนิรภัยสำหรับรถยนต์ มอก. 721-2551 และ UN R16



สถาบันยานยนต์ สามารถบริการทดสอบเข็มขัดนิรภัยสำหรับรถยนต์ "ครบวงจร" 

ผู้ที่สนใจสามารถขอรับคำปรึกษา หรือ สอบถามเกี่ยวกับงานบริการทดสอบเข็มขัดนิรภัยได้ที่

โทร. 02-324-0710 ต่อ 134-135

Line: @thaiauto

 

ที่มา: 

1. สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.): https://www.tisi.go.th/data/standard/fulltext/TIS-721-2551m.pdf 
2. ประกาศกรมการขนส่งทางบกเรื่อง กําหนดคุณสมบัติ คุณลักษณะ และการติดตั้งเข็มขัดนิรภัยและกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข การรับรองแบบการติดตั้งเข็มขัดนิรภัยของรถยนต์พ.ศ. 2560 https://www.dlt-inspection.info/dlt/cl/pdfuploads/2020_11_04_07_42_40.pdf 
3. ศูนย์ทดสอบยานยนต์ สถาบันยานยนต์

หมายเหตุ - ข้อมูลนี้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ความรู้เท่านั้น