ESG คือ 3 องค์ประกอบหลักของการบริหารจัดการองค์กร โดยไม่หวังผลกำไรเพียงอย่างเดียว เพื่อให้บรรลุเป้าหมายเพื่อความยั่งยืน ด้วย สิ่งแวดล้อม (Environment) สังคม (Social) และ ธรรมาภิบาล (Governance) ด้วยการสะท้อนบทบาทความรับผิดชอบของธุรกิจที่มีต่อ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเป็นหลักการสำคัญที่จะชี้ทิศทางการดำเนินธุรกิจขององค์กรให้มี ความรับผิดชอบต่อ สิ่งแวดล้อม สังคม และ การบริหารธรรมาธิบาล เพื่อประโยชนืของสังคมดดยรวมและนำไปสู่การพัฒนาธุรกิจให้เตอบโตอย่างยั่งยืน ตัวอย่างเช่น
E : ด้านสิ่งแวดล้อม
ประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมเป็นผลมาจากการดำเนินธุรกิจ เนื่องจากการดำเนินธุรกิจย่อมมีการใช้ ทรัพยากรทางธรรมชาติและส่งผลกระทบต่อ สิ่งแวดล้อม ดังนั้นจึงไม่สามารถปฏิเสธได้ว่าทุก ธุรกิจล้วนมีส่วนในการทำร้ายโลกไม่มากก็น้อย ประเด็นดังกล่าวจึงเป็นเรื่องเกี่ยวกับการจัดการการใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้คุ้มค่าที่สุด และ ทำให้ ผลเสียจากการดำเนินธุรกิจส่งผลต่อสิ่งแวดล้อม ด้านสิ่งแวดล้อม เช่น การปล่อยก๊าซเรือนกระจก การสร้างของเสีย การปล่อยมลพิษ การลดการ ใช้กระดาษ การลดพลังงานไฟฟ้า การรีไซเคิล การประหยัดพลังงาน เป็นต้น
S : ด้านสังคม
ประเด็นด้านสังคมหมายถึงความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจทั้งภายในและภายนอก ได้แก่ พนักงาน ลูกค้า ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ชุมชนท้องถิ่น และผู้ทำงานใน ห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) เพราะธุรกิจที่มี ความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้มีส่วนที่เกี่ยวข้องย่อมมีแนวโน้ม ที่การดำเนินงานของธุรกิจจะเป็นไปอย่างราบรื่น รวมทั้งได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าของธุรกิจ ซึ่งตัวชี้วัดด้านสังคมอาจประเมินได้จากความ เป็นอยู่ที่ดีของแรงงาน ค่าตอบแทนที่เป็นธรรมการให้ ความสำคัญกับหลักสิทธิมนุษยชนการให้ความสำคัญ กับแรงงาน สร้างความเท่าเทียมให้กับทุกคน เช่น การให้โอกาสผู้พิการได้ทำงาน ความปลอดภัย และ สุขภาพของพนักงาน เป็นต้น
G : ด้านธรรมาภิบาล
ประเด็นในด้านธรรมาภิบาลเป็นประเด็นของความ โปร่งใสในการดำเนินงานของธุรกิจรวมไปถึง นโยบาย ที่เกี่ยวข้องกับการต่อต้านการทุจริตและ การตรวจสอบเพื่อผลประโยชน์ที่เป็นธรรมกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องของธุรกิจทั้งหมดซึ่งอาจประเมิน ได้จากความโปร่งใสในการดำเนินงานวัฒนธรรม องค์กร กฎ ระเบียบ สัดส่วน และนโยบายในการแบ่ง ผลตอบแทน การจัดการด้านภาษี โครงสร้าง ผู้บริหาร ความแตกต่างหลากหลายของผู้บริหาร และคณะกรรมการของบริษัท ความปลอดภัยทาง ไซเบอร์ การเปิดเผยนโยบายและขั้นตอนอย่าง ตรงไปตรงมา การดำเนินการเพื่อลดการทุจริต และ คอรัปชั่นในองค์กรโดยทุกขั้นตอนการดำเนินงาน ต้องโปร่งใส ยุติธรรม และตรวจสอบได้ เป็นต้น
ที่มา : KCL , สถาบันยานยนต์