ดร. เผ่าภูมิ โรจนสกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ความเห็นชอบการปรับปรุงเงื่อนไขอัตราภาษีสรรพสามิตรถยนต์นั่ง หรือ รถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ประเภทประหยดั พลังงานแบบผสมที่ใช้พลังงานเชื้อเพลิงและไฟฟ้าที่ สามารถเสียบปลั๊กประจุไฟฟ้า Plug-in Hybrid Electric Vehicle(PHEV) ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มกราคม 2569 ตามที่กระทรวงการคลังเสนอโดยการปรับปรุงเงื่อนไขอัตราภาษีดังกล่าวเป็นการสนับสนุนและพัฒนาเทคโนโลยีที่สูงขึ้นของรถยนต์ประเภท PHEV ให้สอดคล้องกับหลักสากลและเพื่อให้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตรถยนต์ประเภท PHEV ตามนโยบายของรัฐบาล
ดร. เผ่าภูมิฯ กล่าวว่า ปัจจุบันการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตสำหรับรถยนต์ PHEV จะถูกจัดอยู่ในพิกัดอัตราภาษีเดียวกับ Hybrid Electric Vehicle (HEV) โดยอัตราภาษีจะพิจารณาจากปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์หรือ CO2 ทั้งนี้ตั้งแต่วัน ที่ 1 มกราคม 2569 เป็นต้นไป กรมสรรพสามิตได้กำหนดพิกัดอัตราภาษี PHEV และ HEV แยกจากกัน โดยมีรายละเอียดดังนี้
ทั้งนี้คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ความเห็นชอบ การปรับปรุงเงื่อนไขอัตราภาษีสรรพสามิตรถยนต์นั่งหรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ประเภท PHEV โดยกำหนดอัตราภาษีจะพิจารณาจากระยะทางวิ่งด้วยไฟฟ้า (Electric Range) ต่อการชาร์จ 1คร้ัง เพียงเกณฑ์เดียวเท่าน้ัน เพื่อส่งเสริมมีการพัฒนารถยนต์ประเภท PHEVที่จำหน่ายในประเทศไทยให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น โดยการมุ่งพัฒนาเทคโนโลยีในการเพิ่มระยะวิ่งด้วยไฟฟ้า
เพื่อลดการพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิล และลดการปล่อย CO2 รวมทั้งตอบสนองต่อความต้องการใช้รถยนต์ PHEV ที่สามารถใช้การวิ่งด้วยพลังงานไฟฟ้าในเขตตัวเมืองและใช้การวิ่งด้วยพลังงานผสมในการเดินทางระหว่างเมือง
ดร. เผ่าภูมิฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า การปรับปรุงหลักเกณฑ์โดยการกำหนดระยะการวิ่งด้วยพลังงานไฟฟ้า(Electric Range) ดังกล่าว เป็นแนวทางที่สอดคล้องกับการพัฒนารถยนต์ PHEV ตามหลกั สากล ซึ่งจะช่วยส่งเสริมและต่อยอดให้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตรถยนต์ประเภท PHEV ที่มีมาตรฐานและสอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคท้ังในประเทศและต่างประเทศและดึงดูดเม็ดเงินลงทุนในอุตสาหกรรมยานยนต์ของประเทศไทย
ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในช่วงการเปลี่ยนผ่านจากอุตสาหกรรมยานยนต์ประเภทสันดาปภายในไปสู่อุตสาหกรรมยานยนต์แห่งอนาคต อีกท้ังการปรับปรุงหลักเกณฑ์โดยลดข้อกำหนดของขนาดถังน้ำมัน
ในครั้งนี้ จะทำให้ผู้ประกอบอุตสาหกรรมไม่ต้องมีการปรับเปลี่ยนขนาดถังน้ำมันในรถยนต์ที่ผ่านการทดสอบแบบรุ่นที่ได้รับมาตรฐานในระดับสากลมาแล้วให้ลดลงจากเดิม ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนที่ผู้ประกอบอุตสาหกรรมต้องทำการทดสอบความปลอดภัยเฉพาะรุ่นที่ผลิตในประเทศไทยใหม่อีกด้วย
ดร. เผ่าภูมิฯ กล่าวทิ้งท้ายว่า การปรับปรุงพิกัดโครงสร้างภาษีสรรพสามิตในครั้งนี้ถือเป็นอีกก้าวสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่การเป็นศูนย์กลางการผลิตยานยนต์แห่งอนาคตตอบสนองต่อเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย เพื่อวางรากฐานที่สำคัญใหแก่เศรษฐกิจไทยในระยะยาวตามเป้าหมายที่รัฐบาลกำหนดไว้
ที่มา: กระทรวงการคลัง