สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ร่วมมือ สถาบันยานยนต์ เยือนเมืองเซินเจิ้น สาธารณรัฐประชาชนจีน กระชับความร่วมมือด้านยานยนต์พลังงานใหม่ ยานยนต์อัจฉริยะ ยานยนต์เทคโนโลยีพลังงานสะอาด และโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเตรียมความพร้อมของตลาดในภูมิภาคล้านช้าง-แม่โขง
นายภาสกร ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม พร้อมด้วยนายเกรียงศักดิ์ วงศ์พร้อมรัตน์ ผู้อำนวยการสถาบันยานยนต์ ผู้แทนสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม และสถาบันยานยนต์ เข้าพบหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายใต้การดำเนินโครงการ “The state of preparedness of the Lancang-Mekong region’s market adoption for new energy vehicles (NEVs) and smart mobility“ (โครงการประเมินความพร้อมของตลาดในภูมิภาคล้านช้าง-แม่โขง สำหรับการใช้งานยานยนต์พลังงานใหม่ และยานยนต์อัจฉริยะ) สนับสนุนโดยกองทุนพิเศษแม่โขง-ล้านช้าง สาธารณรัฐประชาชนจีน ณ เมืองเซินเจิ้น สาธารณรัฐประชาชนจีน ดังนี้
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
🔹 BYD Headquarter ก่อตั้งในปี 2537 เป็นหนึ่งในผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้า (EVs) และรถยนต์ปลั๊กอินไฮบริด (PHEVs) รายใหญ่ที่สุดของจีนและปัจจุบันก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำในระดับโลก ครองตำแหน่งผู้ผลิตยานยนต์พลังงานใหม่ที่มียอดขายสูงสุดในปี 2566 รวมกว่า 4 ล้านคัน ทั้งนี้ BYD ดำเนินการผลิตรถยนต์ครอบคลุมตลอดห่วงโซ่อุปทานตั้งแต่กระบวนการผลิต เทคโนโลยีแบตเตอรี่ ระบบขับเคลื่อนไฟฟ้า และนวัตกรรมการขนส่งสัญจรอัจฉริยะ ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมยานยนต์ที่มีการผลิตแบบครบวงจร สำหรับการดำเนินการในประเทศไทย BYD ได้เข้าร่วมโครงการ EV3.0/3.5 และสร้างโรงงานผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในไทยเป็นแห่งแรกนอก สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยในปี 2567 ยอดจดทะเบียนรถยนต์ไฟฟ้าของ BYD ครองอันดับหนึ่งในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าของไทยแสดงให้เห็นความนิยมของผู้บริโภคยานยนต์พลังงานใหม่ในไทย ทั้งนี้ คณะได้เยี่ยมชมเทคโนโลยีของ BYD พร้อมทั้งการแสดงศักยภาพของรถรุ่นใหม่ และหารือกับผู้บริหารของ BYD
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
🔹 Goldpower เป็นผู้ให้บริการสถานีชาร์จสัญชาติจีนที่มีบทบาทสำคัญในด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานชาร์จรถ EV ที่เชื่อมโยงกับระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ ปัจจุบันให้บริการในหลายเมืองใหญ่ของจีน โดยมุ่งเน้นไปที่การสนับสนุนการใช้รถยนต์ไฟฟ้าในระบบขนส่งสาธารณะและโลจิสติกส์ พร้อมทั้ง พัฒนาแพลตฟอร์มพลังงานดิจิทัลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการชาร์จและลดภาระของระบบไฟฟ้า
🔹 Sunwoda EV Charging เป็นบริษัทในเครือของ Sunwoda ผู้ผลิตแบตเตอรี่รายใหญ่ของจีน มุ่งเน้นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสถานีชาร์จที่ผสานระบบจัดเก็บพลังงานเข้าด้วยกัน โดยอาศัย ความเชี่ยวชาญด้านแบตเตอรี่เพื่อสร้างระบบชาร์จที่รวดเร็ว เสถียร และรองรับการบริหารจัดการ โหลดของโครงข่ายไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับการหารือ Goldpower และ Sunwoda ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องว่าความพร้อมสำหรับโครงสร้างพื้นฐานเป็นปัจจัยสำคัญในการผลักดันให้เกิดการผลิตและการใช้ยานยนต์พลังงานใหม่ โดยทั้ง 2 บริษัท มีความสนใจที่จะลงทุนและขยายการผลิตในประเทศไทยซึ่งให้ความสำคัญกับยานยนต์พลังงานใหม่และแนวโน้นการผลิตและจำหน่ายรถยนต์ EV ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
🔹 CATARC (China Automotive Technology & Research Center) Shenzhen ก่อตั้งในปี 2528 ภายใต้การบริหารงานของรัฐ เป็นสถาบันวิจัยชั้นนำของสาธารณรัฐประชาชนจีนที่มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมยานยนต์จีน โดยให้บริการด้านต่าง ๆ เช่น การทดสอบผลิตภัณฑ์ การรับรอง การให้คำปรึกษาทางเทคนิค และการวิจัยและพัฒนา เพื่อสนับสนุนผู้ผลิตและซัพพลายเออร์สามารถผลิตสินค้าให้เป็นไปตามข้อกำหนดด้านกฎระเบียบสำหรับตลาดจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านความปลอดภัย มาตรฐานสิ่งแวดล้อม และนวัตกรรม พร้อมทั้ง คณะได้เยี่ยมชมสนามทดสอบของ CATARC Shenzhen ด้วย
#mlcindustry