สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สถาบันยานยนต์ และ สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย เยือนเมืองเซินเจิ้น และเมืองกว่างโจว สาธารณรัฐประชาชนจีน

สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สถาบันยานยนต์ และ สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย เยือนเมืองเซินเจิ้น และเมืองกว่างโจว สาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อสร้างความร่วมมือในการส่งเสริมการใช้ยานยนต์พลังงานใหม่ (NEVs) และการขนส่งสัญจรอัจฉริยะ (Smart Mobility) และประเมินความพร้อมโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเตรียมความพร้อมของตลาดในภูมิภาคล้านช้าง-แม่โขง 

วันที่ 24 - 27 มิถุนายน 2568 นายภาสกร ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม นายเกรียงศักดิ์ วงศ์พร้อมรัตน์ ผู้อำนวยการสถาบันยานยนต์ พร้อมด้วยนายสุโรจน์ แสงสนิท นายกสมาคมสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย สถาบันยานยนต์ ผู้แทนสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม และผู้แทนสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย เข้าพบหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายใต้การดำเนินโครงการ “The state of preparedness of the Lancang-Mekong region’s market adoption for new energy vehicles (NEVs) and smart mobility“ (โครงการประเมินความพร้อมของตลาดในภูมิภาคล้านช้าง-แม่โขง สำหรับการใช้งานยานยนต์พลังงานใหม่ และยานยนต์อัจฉริยะ) สนับสนุนโดยกองทุนพิเศษแม่โขง-ล้านช้าง สาธารณรัฐประชาชนจีน ณ เมืองเซินเจิ้น และเมืองกว่างโจว สาธารณรัฐประชาชนจีน ดังนี้

 

 

• Shenzhen Future Mobility Experience โดยเมืองเซินเจิ้น และเมืองกว่างโจว เป็นเมืองที่มี Robotaxi บริการการเดินทางแบบไร้คนขับที่ได้เปลี่ยนผ่านไปสู่รูปแบบการพาณิชย์แบบเรียกเก็บค่าโดยสาร การพัฒนาของ Robotaxi เกี่ยวพันอย่างใกล้ชิดกับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องของเทคโนโลยีการขับขี่อัตโนมัติขั้นสูง และได้เข้าสู่ขั้นตอนการทดสอบและการใช้งานรถยนต์ไร้คนขับอย่างสมบูรณ์ ปัจจุบัน ชาวปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ กว่างโจว และเซินเจิ้นต่างเพลิดเพลินกับการใช้ PonyPilot และสัมผัสประสบการณ์แห่งความสุขจากการขับขี่อัตโนมัติ อีกทั้งยังมี Drone delivery ที่นำเทคโนโลยีโดรนมาใช้ในการส่งอาหารและสินค้าอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริการส่งอาหารด้วยโดรนได้รับความนิยมและสร้างความสะดวกสบายให้กับผู้บริโภคเป็นอย่างมาก เซินเจิ้นได้พัฒนาเส้นทางการส่งอาหารด้วยโดรน รวมถึงการนำโดรนมาใช้ในพื้นที่ต่างๆ เช่น สวนสาธารณะ และห้างสรรพสินค้า

 


• Huawei ในประเทศจีนมีระบบ HMS (Huawei Mobile Service) ได้แก่ แอพลิเคชั่นแผนที่ ฟังเพลง วิดีโอ และอื่นๆ ที่ใช้งานในมือถือ แท็ปเล็ต แว่นตา และนาฬิกา และพัฒนาระบบ Ultra-fast charge เพื่อการใช้งานที่เหมาะสมในแต่ละรถรุ่นใหม่ๆ และมีการพัฒนาเครื่องชาร์จ และ Software อีกทั้งยังมี โดยมีการหาลือแลกแลกเปลี่ยนโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการพัฒนาระบบ และได้เยี่ยมชมศูนย์แสดงเทคโนโลยีและ Huawei Shenzhen Base Flagship Store

 


• CATARC Guangzhou มีสนามทดสอบยานยนต์ที่ตอบโจทย์ยานยนต์ไร้คนขับ มุ่งเน้นการปล่อย CO2 เป็นศูนย์ มีโครงข่ายการร่วมมือ และเป็นการทดสอบสากล โดยออกแบบให้เหมาะกับยานยนต์อัจฉริยะ ถนนอัจฉริยะ ความปลอดภัย และระบบข้อมูล Cloud ซึ่งมีสนามทดสอบดังนี้ 1) พื้นที่ทดสอบเขตเมือง 2) พื้นที่การทดสอบจอดรถอัตโนมัติ 3) พื้นที่ทดสอบสภาพถนน 4) พื้นที่ทดสอบสภาพแวดล้อม โดยได้รับความร่วมมือจากศูนย์ทดสอบยานยนต์ บริษัทยานยนต์ และมหาวิทยาลัย ที่ร่วมมือกันในการพัฒนายานยนต์ NEV พร้อมทั้งคณะได้หารือถึงแนวทางความร่วมมือทั้งสองประเทศ และได้เยี่ยมชมสนามทดสอบของ CATARC Guangzhou ด้วย

 


• XPeng motor ได้นำระบบ LiDAR มาใช้ในรถยนต์บางรุ่นเพื่อสนับสนุนเทคโนโลยีขับเคลื่อนอัตโนมัติ อย่างไรก็ตาม XPeng ได้เริ่มนำกล้อง Pure Vision มาใช้แทนเซ็นเซอร์ LiDAR เป็นแนวทางใหม่ในระบบช่วยเหลือการขับขี่อัตโนมัติ (ADAS) อีกทั้งยังมี XPILOT ASSIST เป็นระบบช่วยเหลือการขับขี่อัจฉริยะ ขับง่าย จอดรถง่าย และ Xmart OS ทั้งนี้ คณะได้เยี่ยมชมเทคโนโลยีของ XPeng พร้อมทั้งการแสดงศักยภาพของรถรุ่นใหม่ และหารือกับผู้จัดการของ XPeng

 

 


• GAC Group & GAC AION เป็นผู้ผลิตยานยนต์ไฟฟ้าที่มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่เมืองกว่างโจว มีบริษัทในเครือ ได้แก่ AION, Hyptec, Hycan และอื่นๆ โดย GAC Group มีห้องทดลองระบบ L4 (ADIGO Simulation) และได้เผยแพร่วิดีโอสาธิตการใช้งานจริงที่แสดงให้เห็นผู้ช่วย AI ในรถยนต์ตอบสนองต่อคำสั่งเสียงที่ขับเคลื่อนด้วยโมเดล DeepSeek-R1 ซึ่งเป็นการผสานรวมอย่างลึกซึ้งระหว่างโมเดล AI บนคลาวด์และเอดจ์ ADiGO SENSE ที่พัฒนาขึ้นเองของกลุ่มบริษัทกับ DeepSeek-R1 โมเดล ADiGO SENSE ที่ได้รับการปรับปรุงด้วยพลังของ DeepSeek-R1 จะเปิดตัวในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ โดยจะให้บริการในรถยนต์ของแบรนด์ HYPTEC, Trumpchi และ AION ของกลุ่มบริษัท GAC อีกทั้งยังมี GOVY AirJet ที่เป็นเทคโนโลยีล่ำสมัยที่ผสานนวัตกรรม ของเครื่องบินแบบ Fixed-wing และ Multi-rotor ที่สามารถขึ้นและลงจอดในแนวตั้งได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 


• Pony.ai ได้พัฒนาเทคโนโลยีการขับขี่อัตโนมัติที่ปลอดภัยและเชื่อถือได้ทั่วโลก โดยสะสมระยะทางหลายล้านกิโลเมตรในการทดสอบการขับขี่อัตโนมัติบนถนนในสถานการณ์ที่ซับซ้อน โดยร่วมมือกับค่ายรถ Toyota, BAIC และ AION ที่ได้รับมาตรฐาน ISO26262 สำหรับความปลอดภัยของระบบไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ software and hardware ที่เดียวกับระบบควบคุมทั้งหมด โดยสามารถใช้งานผ่านแอปพลิเคชัน Apollo Go, Uber และอื่นๆ โดยทางคณะได้ทดลองใช้งาน Robotaxi ของ Pony.ai เพื่อเปิดประสบการณ์การใช้งานจริง